วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555


ทำไม TV ในประเทศไทยถึงไม่มีช่องที่เป็นเลขคู่เลย เช่น ช่อง 2, 4, 6, 8 
ทำไมถึงต้องมีแต่เลขคี่ ใช้หลักเกณท์อะไรหรือเปล่า??

ต้องทำความเข้าใจกับพื้นฐานเรื่องการรับสัญญาณโทรทัศน์ก่อน คือ การรับสัญญาณภาพซึ่งคล้ายกับการรับสัญญาณเสียง แต่การรับสัญญาณภาพมีรายละเอียดมากกว่า ยกตัวอย่าง เช่น การรับสัญญาณวิทยุจากปีกอากาศมีสัญญาณเครื่องส่งที่ส่งไปสะท้อนกับตึกหรือภูเขาแล้วกลับมาเข้าเครื่องสัญญาณมี 3 ทางด้วยกัน คือ เส้นทางที่ 1 จากเครื่องส่งตรงเข้าเครื่องรับ เส้นทางที่ 2 และ 3 จากเครื่องส่งไปสะท้อนกับตึกและภูเขา แล้วค่อยเข้าไปยังเครื่องรับ

ทั้งนี้ จะเห็นว่าระยะทางของคลื่นสะท้อนมีระยะทางมากกว่า จึงทำให้เดินทางไปถึงเครื่องรับช้ากว่า สมมุติว่าคลื่นตรงระยะทาง 20 กิโลเมตร และระยะทางคลื่นสะท้อนมีระยะทาง 25 กิโลเมตร การเดินทางของคลื่น 300,000 กิโลเมตร/วินาที ระยะทางที่เดินทางต่างกันน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วของคลื่นที่เดินทาง แต่มนุษย์เราแยกไม่ออก เพราะเสียงที่สะท้อนและเข้ามาทีหลังมีสัญญาณที่คล้ายกัน

ขณะที่การรับสัญญาณภาพ หากมีคลื่นสะท้อนจะปรากฏเป็นภาพซ้อนขึ้น ซึ่งตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ดังนั้นการส่งและรับสัญญาณภาพจึงต้องจัดระบบและอุปกรณ์ในการรับสัญญาณที่มีทิศทางในการรับที่แน่นอน โดยต่อมาได้มีการพัฒนาระบบการรับของปีกอากาศในการรับในแบบทิศทางเดียว

และเพื่อป้องกันความสับสนในการรับส่งช่องสัญญาณ ประเทศไทยจึงปรับเปลี่ยนช่องสัญญาณใหม่จากส่งสัญญาณโทรทัศน์ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ผ่านความถี่ VHF แบ่งช่องสัญญาณออกมาเป็นช่องๆ คือ ช่อง 2 ความถี่ 47-54 MHz ช่อง 3 ความถี่ 54-61 MHz ถึงช่อง 5 ความถี่ 174-181 MHz

จะเห็นได้ว่าช่องสัญญาณแต่ละความถี่แบ่งออกเป็นแต่ละช่อง ช่องโทรทัศน์ก็เลยเอาชื่อของช่องผ่านความถี่ VHF ตั้งชื่อช่องโทรทัศน์ 3-5-7-9-11 ปัญหาก็คือเมื่อช่องต่างๆ จะส่งสัญญาณในต่างจังหวัดก็จะต้องมีการสลับช่องส่ง ช่อง 3 ในกรุงเทพฯ เมื่อออกต่างจังหวัดอาจต้องย้ายความถี่ไปส่งเป็นช่อง 6 ช่อง 7 กรุงเทพฯ อาจจะต้องย้ายไปส่งช่อง 12 จึงเกิดความสับสนว่าทำไมจูนความถี่ 224 MHz เป็นช่อง 12 แต่มีโลโก้ของช่อง 7 ออกมา 

ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวไม่เกิดแล้ว เพราะโทรทัศน์ทุกวันนี้เป็นระบบ AUTO TONE ค้นหาช่องเอง และเรียงช่องให้อัตโนมัติ ถึงเวลาก็เปลี่ยนช่อง ไม่ต้องไปสนใจว่าความถี่อะไรเป็นช่องอะไร

ในปัจจุบันได้มีโทรทัศน์เพิ่มขึ้นมาอีกย่าน UHF ได้สัมปทานช่อง 29 (ITV หรือเดี๋ยวนี้คือ TITV) ความถี่ 534-542 MHz หากตั้งชื่อของช่องสถานีเป็นชื่อช่อง 29 คงจะปวดหัวน่าดู เฉพาะในกรุงเทพฯ ก็ส่งไป 3 ช่องความถี่ คงต้องมีการแจกเอกสารชี้แจงเรื่องความถี่ไม่ตรงกับชื่อช่องวุ่นวาย จึงมีการตั้งชื่อเองว่า ITV (ภายหลังเป็น TPBS)จะส่งช่องอะไรก็ได้ (ในช่วงแรกๆ ส่ง 3 ช่องสัญญาณ 26, 29, 34)
























ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=6d074aef18694bba

เส้นทางสู่นักบินการบินไทย


อาชีพนักบินเป็นอาชีพที่มีความสบายแถมรายได้ดีอีกอาชีพหนึ่ง....ซึ่งอาชีพนักบินนั้นทุกวันนี้ไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญมากนัก แถมยังเปิดทางให้เด็กๆที่มีความฝันในวัยเด็กได้เป็นนักบินอย่างง่ายดาย
เส้นทางสู่นักบินการบินไทย
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทฯ หนึ่งซึ่งได้ดำเนินกิจการการพาณิชย์ รับบริการขนส่งผู้โดยสารและพัสดุภัณฑ์ตลอดจนสินค้าต่างๆ ทางอากาศมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ได้รับความเชื่อถือในด้านความปลอดภัยและการบริการ บริษัทฯ ได้ประกอบธุรกิจการบินมีผลกำไรติดต่อกันมาตลอด ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ทำการบินไปยังเมืองต่างๆ ทั้งในทวีปยุโรป ทวีอเมริกา และในทวีปเอเชีย โดยมีแผนและจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนา ขยายเครือข่ายการบินและการบริการให้เจริญเติบโตไปยังเมืองต่างๆ มากขึ้นทุกปี ดังนั้นบริษัทฯ จึงยังมีความต้องการผู้ที่จะมาเป็นนักบินของบริษัทฯ อยู่อีกเป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ที่รักอาชีพนักบิน การเป็นนักบินของการบินไทยนั้น นอกจากเป็นผู้ที่มีอาชีพที่มั่นคง มีความก้าวหน้าได้ท่องเที่ยวไปทุกหนทุกแห่งแล้ว ยังมีรายได้สูง สามารถให้ท่านมีครอบครัวมั่นคงและมีอนาคตที่ดี ทั้งนี้การเป็นนักบินของบริษัทฯ นั้นไม่ต้องเสียค่าสมัครและค่าสอบใดๆทั้งสิ้น นอกจากตรวจร่างกายที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน
ลักษณะอาชีพนักบิน
· ต้องเป็นผู้ที่มีระเบียบวินัยดีและมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
· เป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบอากาศยาน รวมถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารลูกเรือ และสินค้าระหว่างสถานีต้นทางและปลายทาง
· เป็นอาชีพที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ไม่จำเจค่อนข้างอิสระแต่มีความรับผิดชอบสูง ได้เดินทางไปทั่วโลก พบกับสิ่งแปลกใหม่ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ

· เป็นผู้ควบคุมและบังคับเครื่องบิน รวมทั้งอุปกรณ์การบินต่างๆซึ่งเป็นประดิษฐกรรมที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง

คุณสมบัติของผู้สมัครนักบิน
1. บุคคลทั่วไป (Student Pilot)
1.1 ชายไทยอายุไม่เกิน 30 ปี
- วันเกิด 1 ตุลาคม เป็นต้นไป
* วันเกิด 1 มกราคม - 30 กันยายน นับอายุเกิน 30 ปี
1.2 พ้นพันธะทางทหาร
1.3 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา
1.4 พูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
1.5 สุขภาพและสายตาดี
ผู้สมัครที่สวมแว่นตา หรือผ่านการทำ Lasik เมื่อผ่านขั้นตอนการสอบ
(ดูกำหนดการสอบใน www.tgpilotrecruitment.com  ) จนถึงการตรวจร่างกาย (Medical Examination) โดยแพทย์ ณ สถาบันเวชศาสตร์การบิน ซึ่งจะเป็นผู้ให้การวินิจฉัยและอนุมัติการผ่านตรวจร่างกาย ดังนั้นจะต้องนำประวัติการทำ Lasik ไปในวันตรวจร่างกายด้วย
1.6 ความสูงไม่ต่ำกว่า 165 เซนติเมตร
- สูง 165 เซนติเมตร และสูงมากกว่า 165 เซนติเมตร
2. ผู้ถือใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี (Qualified Pilot)
2.1 ชายไทยอายุไม่เกิน 42 ปี
- วันเกิด 1 ตุลาคม เป็นต้นไป
* เว้นเกิด 1 มกราคม - 30 กันยายน นับอายุเกิน 42 ปี
2.2 พ้นพันธะทางทหาร
2.3 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา
2.4 พูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
2.5 จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีจากสถาบันการบินที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยอมรับ
2.6 ถือใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี
2.7 เป็นนักบินปีกตรึง
* บริษัทจะพิจารณาจากหลักสูตรภาคพื้น ภาคอากาศ การต่อเนื่องของการบินชั่วโมง/ชั่วโมงบินต่อเนื่องของแต่ละสถาบัน
ขั้นตอนการสมัคร
1. บุคคลทั่วไป (Student Pilot)
ขั้นตอนการสมัคร
ผู้สมัครกรอกข้อมูลผ่าน Internet ให้ครบถ้วนและต้อง Print ใบสมัคร 1 ชุด เพื่อนำมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่พร้อมเอกสาร (ฉบับจริง) ดังนี้
1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ
2. ปริญญาบัตรหรือ Transcript ฉบับสมบูรณ์
ทั้งนี้บริษัทฯ จะประกาศตารางนัดหมายให้ทราบทาง www. tgpilotrecruitment.com
ขั้นตอนการทำบัตรประจำตัวผู้สอบ
นำบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรข้าราชการ และปริญญาบัตรหรือ Transcript ฉบับสมบูรณ์ มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่รับสมัคร ณ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) 89 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 ระหว่างเวลา 08.30 – 12.00 น. 13.30 น. – 16.30 น.(เว้นวันหยุดราชการ/เสาร์-อาทิตย์) ตามวันที่กำหนด
สำหรับการรับสมัคร ทางเจ้าหน้าที่ของบ.การบินไทย จะออกแนะนำตามสถาบันเป้าหมาย รวมทั้งประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่าง ๆ ในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งน้อง ๆ ที่สนใจก็สามารถเตรียมตัวไว้ได้เลย โดยเฉพาะเรื่องของภาษาอังกฤษ
ขอบคุณที่มาhttp://blog.eduzones.com/magazine/6002

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

ใช้นิ้วถายภาพ



สถาบัน Advanced Media Arts and Sciences กำลังพัฒนากล้องที่มีชื่อว่า Ubi-Camera ซึ่งมันสามารถถ่ายภาพได้เพียงแค่เราเอานิ้วมือทั้ง 2ข้างมาประกบกันเป็นกรอบรูป
ตัวกล้องจะถูกติดตั้งไว้ที่นิ้วของเรา เมื่อเราเอามือมาประกบกันเป็นกรอบรูปก็จะเป็นการสั่งให้กล้องทำการถ่ายภาพ
กล้องนี้มีเซ็นเซอร์ตรวจระยะระหว่างตัวกล้องกับหน้าของผู้ถ่าย ทั้งนี้เพื่อทำให้ภาพที่ถ่ายออกมาได้นั้นใกล้เคียงกับสิ่งที่ตาของผู้ถ่ายเห็นให้มากที่สุด เช่นเวลาที่เราเอาหน้าเข้ามาใกล้ เราก็ได้ถ่ายได้ภาพมุมกว้าง ถ้าเราเอาหน้าออกมาไกลรูปที่ได้ก็จะเป็นภาพที่มุมแคบลง
กล้องนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนา กล้องต้นแบบจะมีสายที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ แต่คาดว่าในอนาคตกล้องนี้จะเล็กลงและไม่มีสายใด เพื่อให้สามารถพกพาได้สะดวกhttp://www.youtube.com/watch?v=tN6jFuuQFVY